ก่อนอื่นต้องดูรูปแบบที่นอนก่อนว่าเป็นแบบใด ปัจจุบัน ที่นอนมีอยู่ 3 แบบ คือ
1. ที่นอนที่ออกแบบเพื่อให้ใช้งานได้ 2 ด้าน โดยทั้ง 2 ด้านมีคุณสมบัติเหมือนกัน
2. ที่นอนที่ออกแบบมาเพื่อใช้งานด้านเดียวเท่านั้น
3. ที่นอนที่ออกแบบเพื่อให้ใช้งานได้ 2 ด้าน โดยทั้ง 2 ด้านมีคุณสมบัติต่างกัน (เช่น ผิวหน้านุ่ม-ด้านหลังแน่น)
** ดังนั้นการพลิกกลับด้านที่นอนจะใช้ได้เฉพาะกับที่นอนแบบแรกเท่านั้น คือ ที่นอนที่ออกแบบเพื่อให้ใช้งานได้ 2 ด้าน โดยทั้ง 2 ด้านมีคุณสมบัติเหมือนกัน เท่านั้น
ส่วนแบบที่ 2 ที่นอนที่ออกแบบมาเพื่อใช้งานด้านเดียว ก็จะไม่สามารถพลิกกลับเพื่อนอนอีกด้านได้
และสำหรับแบบที่ 3 ที่นอนที่ออกแบบเพื่อให้ใช้งานได้ 2 ด้าน แต่ทั้ง 2 ด้านมีคุณสมบัติต่างกัน เป็นกรณีพิเศษที่ลูกค้าทำได้ หากมีความชอบความนุ่มแน่นของอีกด้านซึ่งที่นอนแต่ละแบบ ได้มีการคิดและออกแบบมาอย่างดีให้มีคุณสมบัติที่ต่างกัน ดังนั้นไม่จริงที่ว่าที่นอนได้ด้านเดียวจะไม่ดีเท่าที่นอนที่นอนได้ 2 ด้าน
การกลับด้านที่นอน คือการดูแลรักษาและยืดระยะเวลาการใช้งานให้นานขึ้น แต่หากที่นอนมีปัญหาแล้ว การกลับด้านที่นอนจะไม่สามารถช่วยได้ อธิบายคือ หากหน้า A ยุบ หรือ ยวบ ตรงไหน หากพลิกกลับด้าน หน้า B ก็จะ ยุบหรือยวบ ตรงที่เดียวกัน ดังนั้น ถ้าหากเกิดปัญหาแล้วลูกค้าสามารถแจ้งเคลมกับบริษัทที่นอนหรือตัวแทนจำหน่ายต่างๆ ได้ทุกที่ ถ้าสินค้ายังอยู่ในระยะเวลารับประกัน บริษัทจะทำการมาตรวจสอบและแก้ไขปัญหา ซึ่งระยะเวลาโดยปกติจะใช้เวลาไม่นาน แต่ก็จะขึ้นอยู่กับแต่ละบริษัท
วิธีนี้จำเป็นกับทุกรุ่นและทุกแบรนด์ ไม่ใช่แค่ช่วยให้อากาศในที่นอนถ่ายเทได้ดีเพียงอย่างเดียว แต่ยังช่วยทำให้ไม่เกิดเสียงที่น่ารำคาญตอนนอน ที่สำคัญคือ เรื่องผิวสัมผัสของที่นอน หากยังมีพลาสติกหุ้มอยู่ การยืดหยุ่นของตัวที่นอนและผิวหน้าของที่นอนจะน้อยกว่าที่ควรจะเป็น 50-60% รวมถึงจะไม่สบายตัวเนื่องจากอากาศไม่ถ่ายเท ทำให้เวลานอนลงไปจะรู้สึกร้อน และมีเหงื่อออกเวลานอนเวลานานๆอีกด้วย
หากที่นอนของเรามีรอยเปื้อน ให้ใช้ผ้าสะอาดชุบน้ำสบู่ขัดที่รอยเปื้อนเบาๆ จากนั้นควรปล่อยไว้ให้แห้งสนิทก่อนปูผ้าปูที่นอน วิธีนี้จะช่วยให้รอยคราบจางลงได้ แต่อาจไม่สามารถทำความสะอาดออกได้ทั้งหมด 100% ดังนั้นเราจึงควรต้องป้องกันการเปื้อนให้มากที่สุด วิธีป้องกันดีที่สุดคือการใช้ผ้ารองกันเปื้อน
สำหรับที่นอนและฐานรองทุกรุ่นทุกแบรนด์ เราจำเป็นต้องตรวจสอบสภาพเตียงหรือฐานรองให้สมดุลอยู่เสมอ เนื่องจากฐานรองจะส่งผลถึงตัวที่นอนโดยตรง หากพื้นล่างไม่ได้สมดุล มีการยวบ หรือยุบ จะทำให้ที่นอนยวบหรือยุบตามไปด้วย และอาจทำให้เกิดอาการปวดหลังได้ ซึ่งในปัจจุบันนี้ ฐานรองเตียง มีหลากหลายรูปแบบมาก ดังนั้นอย่าลืมให้ความสำคัญในการเลือกฐานรองหรือเตียงด้วยเช่นกัน
เรื่องนี้สำคัญสำหรับที่นอนทุกรุ่นทุกแบรนด์ ทั่วไปแล้วสปริงที่นอนความหนาอยู่ที่ประมาณ 0.9 - 2.4 มิลลิเมตร แตกต่างกันตามรุ่นและแบรนด์ การทำงานของระบบสปริงจะทำงานเป็นวงกว้าง ดังนั้นจึงไม่สามารถรับน้ำหนักของคน 1 คนได้เพียงสปริงไม่กี่ตัว อย่างเช่น เวลานั่งหรือนอน สปริงโดยทั่วไปในการรับน้ำหนักจะอยู่ที่ประมาณ 15-30 ตัวที่ช่วยในการพยุงร่างกาย (ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับรุ่น แบรนด์ของที่นอน และน้ำหนักตัวของผู้นั่งหรือผู้นอน) แต่พอเป็น การยืนหรือกระโดดบนที่นอน สปริงในการรับน้ำหนักจะอยู่ที่ 2-6 ตัว ที่จะต้องรับแรงกดทับที่มากขึ้นกว่าปกติอีกด้วยจึงอาจจะทำให้เกิดปัญหาได้ ทั้งกรณีสปริงล้ม หัก หรือเสียประสิทธิภาพ ส่งผลให้ที่นอนยวบได้
ดังนั้นจึงไม่ควรที่จะยืน เหยียบ หรือกระโดดบนที่นอน
สำหรับครอบครัวที่มีลูกเล็ก ที่อาจจะมีการกระโดดจริงๆ เลี่ยงไม่ได้ แนะนำให้เลือกที่นอนที่ไม่ใช่สปริง เช่น ที่นอนยางพารา หรือที่นอนยางพาราสังเคราะห์ Eco latex ความรู้สึกในการนอนจะคล้ายๆสปริง แต่ต่างกับสปริงตรงที่ไม่เด้ง และเวลานอน 2 คน การพลิกตัวของอีกคนจะไม่สะเทือนถึงอีกคน รวมถึง ปัญหาสปริงล้มหรือหัก ก็ไม่เกิดขึ้นเช่นกัน
จริงๆแล้วที่นอนนั้นสามารถ พับได้ นะครับ แต่จะได้มากหรือน้อยขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของที่นอนในรุ่นนั้นๆ ที่นอนที่ไม่ใช่สปริงสามารถพับงอได้มากกว่าที่นอนสปริง ที่นอนบางรุ่นที่มีการใส่ตัวข้อต่อพับก็สามารถพับได้ ส่วนที่นอนสปริงในปัจจุบันได้มีการพัฒนามามากแล้ว จึงสามารถพับงอได้ระดับหนึ่งจนถึงรูปตัว U แล้วแต่รุ่น แต่ต้องภายในระยะเวลาไม่นานเกินไปเพื่อให้สปริงคืนรูปแบบเดิมได้ แต่ทั้งนี้ ควรให้ผู้ชำนาญจัดการทำเพื่อไม่ให้เกิดความเสียหาย
ที่นอนในแต่ละรุ่นมีการออกแบบให้เหมาะที่จะ วางบนพื้นผิวราบ ไม่ได้จำกัดแค่ต้องวางบนเตียงหรือฐานรองเท่านั้น แค่วางบนอะไรก็ได้ที่เป็นพื้นเรียบ และแข็งแรงพอที่จะรับน้ำหนักได้ แต่ ถ้าที่นอนวางบนเตียงที่เป็นพื้นไม้แผ่นเต็ม ๆ จะให้ความรู้สึกที่นิ่งและแน่น ซึ่งดีที่สุด แต่ถ้าเตียงเป็น พื้นไม้ระแนง หรือฐานรองสปริง ความรู้สึกในการนอนของที่นอนรุ่นนั้นๆ จะนุ่มขึ้นอีก 15-30% จากสเป็กเดิมของที่นอน ที่นุ่มนั้นขึ้นไม่ใช่เพราะสปริงของที่นอนยืดหยุ่นมากกว่าเดิม แต่ฐานรอง ทำให้ที่นอนเด้งมากขึ้น ทั้งนี้ก็อยู่ที่ความชอบของผู้นอนแต่ละคน
ดังนั้นที่ว่า "ซื้อที่นอนแบรนด์ไหน ต้องซื้อเตียงแบรนด์นั้น เพราะฐานรองจะทำงานควบคู่กับที่นอนได้ดีและจะช่วยให้อายุการใช้งานของที่นอนนานขึ้น" จึงไม่จำเป็น
การรับประกันตัวที่นอนไม่ได้เพิ่มระยะเวลาขึ้นเช่นกัน แต่หากชอบในรูปแบบหัวเตียง หรือ Design ของแบรนด์นั้นๆ และรับราคาได้ ก็สามารถซื้อได้เช่นกัน
ทั้งนี้ทั้งนั้น ความสำคัญในการเลือกรูปแบบเตียงหรือฐานรองยังคงสำคัญ และมองข้ามไม่ได้
มาตรฐานที่นอนทั่วไปจะมีอายุการใช้งานระหว่าง 5-10 ปี ขึ้นไป ขึ้นอยู่กับการดูแลรักษาและการใช้ที่นอนอย่างถูกต้องและเหมาะสม
ที่นอนแต่ละรุ่นแต่ละยี่ห้อ มีระยะเวลาการรับประกันที่ต่างกัน บางรุ่น 10 ปี 12 ปี 15 ปี บางรุ่น18-20 ปี ไม่ได้หมายความว่าอายุการใช้งานที่เหมาะสมคือ 5-10 ปี แต่จากที่ศึกษามาจากผู้รู้หลายๆท่าน ผสมกับประสบการณ์ทำงานในอุตสาหกรรมนี้ที่ผ่านมา พบว่าที่นอน 1 หลัง อายุการใช้งานที่คุ้มค่า จริงๆอยู่ที่ประมาณ 70-80% ของระยะเวลารับประกัน ซึ่งเหตุผลอาจไม่ได้มาจากการเสื่อมของที่นอน แต่เป็น อายุและสภาพร่างกายของผู้นอน เมื่อผู้นอนมีอายุที่เปลี่ยนแปลงไป สภาพร่างกายเปลี่ยน การนอนนั้นก็เปลี่ยนแปลงไปตามอายุเช่นกัน ที่นอนที่เหมาะสมที่จะทำให้ลูกค้ารู้สึกสบายจึงเปลี่ยนแปลงไป การนอนที่นอนเหมือนเดิมแต่ความรู้สึกของตัวผู้นอนอาจแตกต่างจากเดิม ซึ่งสามารถส่งผลต่อสุขภาพได้